เรื่อง การคำนวณและการใช้สูตร
เป็นโปรแกรมที่มีความสามารถในการคำนวณในด้านต่างๆ
อย่างสูง เช่น เกี่ยวกับการเงิน ตรรกะ วัน เวลา คณิตศาสตร์ หรือสถิติ เป็นต้น รวมถึงยังมีฟังก์ชั่นมาตรฐานที่ใช้งานทั่วไปจนถึงฟังก์ชั่นการคำนวณที่ซับซ้อนเตรียมพร้อมเพื่อรองรับการใช้งานอีกด้วย
การคำนวณ
เราสามารถกำหนดให้ผลลัพธ์เซลล์ที่ต้องการมาจากการคำนวณได้เพียงพิมพ์เครื่องหมายเท่ากับ
(=) ในเซลล์ที่ต้องการ และตามด้วยสูตรที่ใช้ในการคำนวณ ซึ่งประกอบด้วยค่าที่ต้องการนำมาคำนวณ
และตัวดำเนินการ (Operator) เช่น การหาผลต่างของ รายรับ รายจ่าย
(คงเหลือ = รายรับ - รายจ่าย) จากรูปจะเห็นว่าเซล C6 คือผลลัพธ์ที่เกิดจาก เซล
C4 – เซล C5 ดังนั้นหากเซล C4 หรือ เซล C5 เปลี่ยนค่าไป เซล C6 จะเปลี่ยนค่าเองโดยอัตโนมัติ ซึ่งการคำนวณนั้นจะเหมือนกับการคำนวณทางคณิตศาสตร์โดยทั่วไปคือ
หากมีวงเล็บ จะทำการคำนวณในวงเล็บก่อนเสมอ (ต่อไปนี้จะขอเรียกตำแหน่งเซลเพียงสั้นๆ
จากเซล C4 เป็น C4 เพียงสั้นๆลักษณะของตัวดำเนินการใน
Microsoft Excel นั้นจะถูกแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลักๆ
คือ ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ ตัวดำเนินการเปรียบเทียบ ตัวดำเนินการเกี่ยวกับข้อความ
ตัวดำเนินการอ้างอิง
การอ้างอิงตำแหน่งเซล
โดยปกติการคำนวณ หรือการใช้ฟังก์ชั่นมีความจำเป็นต้องอ้างอิงตำแหน่งของเซลล์ด้วย
เช่น
C6=C4-C5
ซึ่งการอ้างอิงเซลล์ของ Microsoft Excel 2007 มีด้วยกัน
3 วิธีคือ
v Relative
Reference : เป็นการอ้างอิงตำแหน่งเซลแบบสัมพัทธ์ คือ เซลที่ถูกคัดลอก
หรือย้าย
ตำแหน่งของเซลล์ปลายทางจะเปลี่ยนตำแหน่งโดยอัตโนมัติ
เช่น
A2=B2+C2 เมื่อคัดลอกสูตรจาก A2
ไปที่
A4 สูตรที่ A4 จะเป็นดังนี้ A4=B4+C4 เป็นต้น
v Absolute
Reference : เป็นการอ้างอิงเซลแบบสมบูรณ์ คือ เซลที่ถูกคัดลอก หรือย้าย
ตำแหน่งของ
เซลปลายทางจะคงตำแหน่งเซลต้นทางเดิมไว้
เช่น A2=$B$2+$C$2
เมื่อคัดลอกสูตรจาก A2 ไปที่ A4
สูตรที่
A4 จะเป็นดังนี้ A4= $B$2+$C$2 เช่นเดิม ซึ่งหากเราต้องการให้แถว
หรือคอลัมน์คงที่ตำแหน่ง
เดิมไว้
เพียงใส่เครื่องหมาย $ ไว้หน้าแถว หรือคอลัมน์นั้นๆ
v Mixed
Reference : เป็นการอ้างอิงแบบผสมทั้ง Relative Reference และ Absolute Reference เช่น เซลที่ถูกคัดลอก หรือย้าย
ตำแหน่งของเซลปลายทางจะเปลี่ยนตำแหน่งโดยอัตโนมัติสำหรับการอ้างอิงแบบ
Relative Reference และจะคงตำแหน่งเซลต้นทางเดิมไว้ Absolute
Reference เช่นA2=B2+$C$2 เมื่อคัดลอกสูตรจาก
A2 ไปที่ A4 สูตรที่ A4 จะเป็นดังนี้
A4= B4+$C$2 เป็นต้น
ข้อความแสดงความผิดพลาดจากสูตรคำนวณ
การที่เราใช้งานสูตรคำนวณนั้นบางครั้งอาจเกิดการผิดพลาดได้
ซึ่ง
Microsoft Excel 2007 มีข้อความแสดงความผิดพลาดให้เราทราบตังต่อไปนี้
ข้อความแสดงความผิดพลาด
สาเหตุ
#####
ข้อมูลในเซลมีความยาวเกินกว่าที่แสดงผลได้
#VALUE!
ใช้ตัวดำเนินการผิดประเภท
#NULL!
เซลที่อ้างอิงผิด ทำให้ไม่สามารถกำหนดเซลที่ต้องการได้
#DIV/0!
ตัวหารเป็น 0
#NAME?
ไม่มีชื่อเซลที่อ้างอิง ไม่มีชื่อฟังก์ชั่น ใส่อากิวเมนต์ผิด ใช้ข้อความตัวอักษรโดยไม่ใส่เครื่องหมาย
“ ”
#N/A
พิมพ์จำนวนอาร์กิวเมนต์ไม่ถูกต้อง
#REF!
เซลที่อ้างอิงถูกลบ
#NUM!
ใช้อาร์กิวเมนต์ที่ไม่ใช่ตัวเลขไปสูตรที่ต้องใช้ตัวเลข
ฟังก์ชั่น
คือสูตรการคำนวณที่ถูกสร้างไว้ล่วงหน้า
เพื่อสนับสนุนการทำงานประเภทต่างๆ ซึ่งแต่ละฟังก์ชั่นจะมี
รูปแบบมาตรฐาน
ดังนี้
ชื่อฟังก์ชั่น
: (อากิวเมนต์ 1, อากิวเมนต์ 2, อากิวเมนต์ 3, ... ,อากิวเมนต์ n)
v ชื่อฟังก์ชั่น
: เป็นชื่อที่ใช้เรียกฟังก์ชั่น โดยปกติชื่อจะแสดงถึงลักษณะการทำงานของฟังก์ชั่น
เช่น
ฟังก์ชั่น
SUM จะหมายถึง ฟังก์ชั่นที่ทำหน้าที่คำนวณผลรวมของอากิวเมนต์
v อากิวเมนต์
: เป็นส่วนที่ฟังก์ชั่นจะนำไปใช้คำนวณ หรือประมวลผล ซึ่งอากิวเมนต์จะอยู่ภายในวงเล็บ
และอากิวเมนต์จะถูกแยกกันด้วยเครื่องหมายคอมม่า
(,)
การใช้งานฟังก์ชั่น
การใช้งานฟังก์ชั่นสามารถใช้งานได้หลายแบบ
ดังวิธีการต่อไปนี้
v พิมพ์ฟังก์ชั่น
และอากิวเมนต์ลงในเซลที่ต้องการโดยตรง : ซึ่งวิธีนี้เหมาะสำหรับกรณีที่เรารู้ชื่อ
ฟังก์ชั่น
หรืออากิวเมนต์อยู่แล้ว
v เลือกฟังก์ชั่นจากไลบรารี
: เป็นฟังก์ชั่นที่ถูกรวบรวมไว้เป็นกลุ่มถูกแยกตามประเภทของการใช้งาน
ซึ่งการเรียกใช้งานฟังก์ชั่นจากไลบรารีสามารถเรียกใช้งานได้ที่แท็บ
Formulas ซึ่งกลุ่มของฟังก์ชั่นสามารถแบ่งเป็น ประเภทได้ดังต่อไปนี้
1.
Financial : เกี่ยวกับการเงิน เช่น การชำระค่างวด หรืออัตราดอกเบี้ย
เป็นต้น
2.
Logical : เป็นการคำนวณแบบมีเงื่อนไขตรรกกะทางคณิตศาสตร์ มีผลลัพธ์ที่เป็นจริง
หรือเท็จ
3.
Text : เกี่ยวกับข้อมูลประเภทตัวอักษร เช่น การแปลงตัวอักษร ตัดคำ หรือต่อคำ
เป็นต้น
4.
Date & Time : เกี่ยวกับวัน และเวลา เช่น การแปลงค่าวัน เวลา หรือการเพิ่ม-ลด วันเวลา เป็นต้น
5.
Lookup & Reference : เกี่ยวกับการค้นหา และอ้างอิงข้อมูลภายในตารางตามเงื่อนไขที่กำหนด
6.
Math & Trig : เกี่ยวกับการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น ผลรวม หรือค่ารากที่สอง
เป็นต้น
7.
More Function : เกี่ยวกับสูตรในสาขาอื่นๆ เช่นทางสถิติ หรือวิศวกรรมศาสตร์
เป็นต้น
รูปแบบการคำนวณด้วย
Excel
เราสามารถใช้โปรแกรม Excel สร้างตารางคำนวณได้หลายรูปแบบ
ตัวที่จะช่วยเราคงหนีไม่พ้นการนำสูตรและฟังก์ชันมาใช้ ดังนั้นเราควรรู้ความสามารถในการคำนวณของ Excel สามารถทำอะไรได้บ้าง เกี่ยวกับการคำนวณอัตโนมัติ
การสร้างสูตร การใช้ฟังก์ชัน
หรือการแก้ปัญหาในกรณีที่เกิดความผิดพลาดในการเขียนสูตร
ซึ่งถ้าเราเข้าใจหลักการต่าง ๆ แล้ว Excel จะช่วยให้เราทำงานได้สะดวกขึ้น
และการใช้สูตรไม่ยากอีกต่อไป
การคำนวณอัตโนมัติ
บางขณะที่เราป้อนตัวเลขในตาราง เราอาจจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบตัวเลขหรือดูผลลัพธ์ว่าถูกต้องหรือไม่
โดยไม่ต้องการให้แสดงผลลัพธ์ในตารางนั้น ๆ เราสามารถใช้การคำนวณอัตโนมัติ
ซึ่งจะทำให้สามารถทราบผลลัพธ์ได้ทันที โดยที่ไม่ต้องป้อนสูตรหรือฟังก์ชันใด ๆ
ด้วยการดูผลลัพธ์ที่ Status Bar (แถบสถานะ) ซึ่งมีวิธีการใช้ดังนี้
1.
แดรกเมาส์เลือกช่วงเซลล์ที่ต้องการให้คำนวณ
2. คลิกขวาที่ แถบสถานะ จะปรากฏกล่องแสดงคำสั่ง
3. เลือกคำสั่งที่ต้องการ (ในที่นี่เลือกคำสั่ง ผลรวม)
3. เลือกคำสั่งที่ต้องการ (ในที่นี่เลือกคำสั่ง ผลรวม)
5.
จะปรากฏผลลัพธ์ที่ แถบสถานะ
จากวิธีการดังกล่าวจะเห็นว่าเราสามารถเปลี่ยนคำสั่งในการคำนวณได้ตามที่ต้องการดังรูป
การคำนวณโดยใช้สูตร
การใช้สูตรเป็นวิธีที่ใช้ในการคำนวณที่นิยมมากที่สุด
เพราะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่รวดเร็ว และสูตรบางอย่างยังสามารถช่วยคำนวณข้อมูลตัวเลขที่ซับซ้อนได้อีก
แต่ละสูตรมีรูปแบบการใช้ที่แตกต่างกันออกไปการใช้งานสูตรรูปแบบปกติ (Formula)
สูตรรูปแบบปกติจะเป็นสูตรที่เป็นสมการที่ใช้ดำเนินการกับข้อมูลในชีทด้วยการใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์
เช่น เครื่องหมายบวก ลบ คูณ หาร การอ้างอิงเซลล์อื่น หรือสูตรที่ใช้รวมข้อความ เป็นต้น
การใช้งานสูตรแบบฟังก์ชัน (Function)
เราสามารถใช้สูตรแบบฟังก์ชันช่วยคำนวณข้อมูลที่ซับซ้อนหรือมดีปริมาณมากได้ ซึ่งฟังก์ชันในExcel เป็นสูตรที่กำหนดไว้ล่วงหน้าและถูกสร้างให้เหมาะกับงานเฉพาะอย่าง
เราสามารถใช้สูตรแบบฟังก์ชันช่วยคำนวณข้อมูลที่ซับซ้อนหรือมดีปริมาณมากได้ ซึ่งฟังก์ชันในExcel เป็นสูตรที่กำหนดไว้ล่วงหน้าและถูกสร้างให้เหมาะกับงานเฉพาะอย่าง
การใช้งานสูตรแบบอาร์เรย์ (Array)
การใช้สูตรแบบอาร์เรย์สามารถทำหลาย ๆ การคำนวณให้คืนค่าเป็นผลลัพธ์เดียวหรือหลายผลลัพธ์โดยสูตรอาร์เรย์ตั้งแต่ 2 ชุดขึ้นไป
การใช้สูตรแบบอาร์เรย์สามารถทำหลาย ๆ การคำนวณให้คืนค่าเป็นผลลัพธ์เดียวหรือหลายผลลัพธ์โดยสูตรอาร์เรย์ตั้งแต่ 2 ชุดขึ้นไป
สูตรแบบต่าง ๆ
จะมีความยากง่ายแตกต่างกันออกไป
ซึ่งการสร้างสูตรนั้นเราจะต้องทราบหลักการทำงานของเครื่องหมายและสัญลักษณ์ในสูตร
รวมถึงลำดับการคำนวณ เพราะสิ่งเหล่านี้มีผลต่อการแสดงผลลัพธ์ทั้งสิ้น
การสร้างสูตรคำนวณใช้เอง
การสร้างสูตรใช้เองนั้นจำเป็นจะต้องทราบถึงหลักการและองค์ประกอบสำคัญต่าง
ๆ ที่ประกอบอยู่ในสูตรรวมถึงลำดับที่เราจะใช้ในการสร้างสูตรด้วย
หลักการสร้างสูตร
โครงสร้างหรือลำดับขององค์ประกอบต่าง
ๆ ในสูตร จะเป็นตัวกำหนดผลลัพธ์ขั้นสุดท้ายซึ่ง Excel จะคำนวณสูตรจากซ้ายไปขวา
แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลำดับของตัวดำเนินการที่มีลำดับเหนือกว่า โดยที่เราสามารถควบคุมลำดับของการคำนวณได้โดยใช้เครื่องหมายวงเล็บเพื่อจัดกลุ่มในการคำนวณที่ควรจะเริ่มทำก่อน
องค์ประกอบสำคัญในการสร้างสูตร
ในการสร้างสูตรใช้งานต่าง ๆ
ส่วนประกอบสำคัญต่อไปนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญซึ่งจะเป็นตัวกำหนดผลลัพธ์ ประกอบด้วย เครื่องหมายเท่ากับ
(=) จะเป็นตัวขึ้นต้นเสมอในการสร้างสูตร เพื่อเป็นการระบุให้ Excel รู้ว่าอักขระตัวถัดไปเป็นสูตร อาร์กิวเมนต์ หรือองค์ประกอบที่จะถูกนำมาคำนวณ ได้แก่ อาร์กิวเมนต์ต่างๆไม่ว่าจะเป็นตัวเลขหรือการอ้างอิงเซลล์หรือช่วง ป้ายชื่อ ชื่อ หรือฟังก์ชันแผ่นงาน ตัวดำเนินการในการคำนวณ เช่น เครื่องหมาย (+) เครื่องหมายหาร (/) ลำดับการคำนวณ โดยปกติแล้ว Excel จะลำดับการคำนวณเครื่องหมายดังต่อไปนี้ตามลำดับ
1. วงเล็บ ( )
2. คูณ ( * ) หาร ( / )
3. บวก ( + ) ลบ ( - )
หมายเหตุ ลำดับความสำคัญเท่ากันให้คำนวณจากซ้ายไปขวา
1. วงเล็บ ( )
2. คูณ ( * ) หาร ( / )
3. บวก ( + ) ลบ ( - )
หมายเหตุ ลำดับความสำคัญเท่ากันให้คำนวณจากซ้ายไปขวา
ลำดับที่ Excel ใช้ดำเนินการในสูตร
หากใช้ตัวดำเนินการหลาย ๆ ตัวในสูตรเดียวกัน ใน Excel จะมีลำดับการดำเนินการตามลำดับดังนี้
ตัวดำเนินการที่ใช้ในสูตร
(Operator)
เครื่องหมายหรือตัวดำเนินการคือ องค์ประกอบหนึ่งในสูตรโดยจะระบุชนิดของการคำนวณที่ต้องการซึ่ง Excel
จะแบ่งตัวดำเนินการออกเป็น 4 ประเภท
คือ คณิตศาสตร์ การเปรียบเทียบ ข้อความ และการอ้างอิง
ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์
(Arithmetic
Operator)
ตัวดำเนินการทางคณิตสาสตร์
ใช้คำนวณด้วยวิธีทางคณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เช่น การบวก ลบ
คูณ หาร การรวมตัวเลข การหาผลลัพธ์ต่าง ๆ
ตัวดำเนินการเปรียบเทียบ
(Comparison
Operator)
เราสามารถใช้ตัวดำเนินการเปรียบเทียบเพื่อการเปรียบค่าสองค่า
โดยผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นค่าทางตรรกศาสตร์คือ True หรือ
False
ตัวดำเนินการข้อความ
(Text
Concatenation Operator)
ตัวดำเนินการข้อความจะใช้เครื่องหมาย (&)
ในการรวมข้อความหรือคำ 2 คำขึ้นไป
เพื่อให้เป็นข้อความเดียวกัน
ตัวดำเนินการสำหรับอ้างอิง
(Reference
Operator)
ตัวดำเนินการอ้างอิงถูกนำมาใช้เพื่อรวมช่วงของเซลล์สำหรับการคำนวณ
การย้ายหรือคัดลอกสูตร
หลักการอ้างอิงเซลล์และแทนที่สูตร
การสร้างตารางคำนวณในรูปแบบต่าง ๆ นั้น สูตรที่ใช้มักจะเป็นการอ้างอิงเซลล์อื่น
ๆ ที่อยู่ในตารางเดียวกัน และการอ้างอิงเซลล์ก็ยังไม่ได้ถูกจำกัดให้ทำได้เฉพาะในชีทเดียวกันเท่านั้น
แต่ยังสามารถอ้างอิงข้ามชีทหรือข้ามไฟล์ได้
รูปแบบการอ้างอิงเซลล์
เราจำเป็นต้องเข้าใจหลักการอ้างอิงเซลล์หรือข้อมูลที่มีอยู่ในสูตร
เพราะเมื่อใดที่มีการย้ายหรือการตัดลอกสูตร มักจะมีผลต่อการเปลี่ยนตำแหน่งการอ้างอิงทั้งสิ้น การอ้างอิงใน Excel แบ่งออกเป็น
3 ลักษณะได้แก่ การอ้างอิงแบบสัมพัทธ์
การอ้างอิงแบบสัมบูรณ์ และการอ้างอิงแบบผสมผสาน
แต่ละแบบจะมีวิธีการและการใช้ที่แตกต่างกัน อธิบายได้ดังนี้
การอ้างอิงแบบสัมพัทธ์(Relation
References)
การอ้างอิงแบบสัมพัทธ์ คือ การอ้างอิงไปที่เซลล์ใดหรือช่วงเซลล์ใดก็ตามเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง
เช่น การย้ายหรือคัดลอกสูตร จะทำให้ตำแหน่งการอ้างอิงเปลี่ยนแปลงไปตามความสัมพัทธ์ของการย้ายหรือคัดลอก
ตัวอย่างเช่น
จากตารางเมื่อมีการใช้สูตร SUM เพื่อหาผลรวมของยอดขายสินค้าในแต่ละวัน
โดยให้มีการอ้างอิงช่วง B2:D2 ซึ่งเป็นการอ้างอิงแบบสัมพัทธ์
ถ้าเราต้องการผลรวมของสิ้นค้ามรวันที่ 2 เราสามารถคัดลอกสูตรไปที่ F3 และ F4 การอ้างอิงจะถูกเปลี่ยนไปโดยอัตโนมัติทั้นทีโดยที่เราไม่ต้องสร้างสูตรที่มีการอ้างอิงใหม่
ดังนั้น สูตรบางสูตรที่มีตำแหน่งการอ้างอิงเฉพาะเจาะจง
จำเป็นต้องมีการล๊อคตำแหน่งอ้างอิงนั้น ๆ
เพราะเมื่อมีการย้ายหรือคัดลอกสูตร จะทำให้ตำแหน่งที่ถูกอ้างอิงยังคงการล๊อกตำแหน่งเดิมไว้
ซึ่งการอ้างอิงแบบนี้เรียกว่า การอ้างอิงแบบสัมบูรณ์
การอ้างอิงแบบสัมบูรณ์
(Absolute
References)
การอ้างอิงแบบสัมบูรณ์คือ การล็อคตำแหน่งของการอ้างอิงโดยใช้เครื่องหมายดอลลาร์
($) หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า สตริง โดยใส่เข้าไปในตำแหน่งของเซลล์มราถูกอ้างอิง ซึ่งเมื่อมีการย้ายหรือคัดลอกสูตร ตำแหน่งที่ถูกอ้างอิงจะไม่เปลี่ยนแปลง
จากตารางเดิมจะแสดงให้เห็นผลลัพธ ์จากการใช้การอ้างอิงแบบสัมบูรณ์ดังนี้
จากสูตรการอ้างอิงในสูตรจะถูกล็อกด้วยเครื่องหมาย $ ดังนั้นเมื่อมีการคัดลอก
ตำแหน่งการอ้างอิงจะยังเป็นตำแหน่งเดิม การล็อคตำแหน่ง
ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์ว่าจะล็อคแบบใด เช่น =SUM($A1:$A5) หรือ
=SUM($A$1:$A$5)
แต่บางครั้งเมื่อมีการย้ายหรือคัดลอกสูตร เราอาจจะต้องการให้เปลี่ยนแปลงตำแหน่งแค่เฉพาะแถวหรือคอลัมน์
หรือบางที่ในสูตรที่มีการอ้างอิงเซลล์หลาย ๆ ตำแหน่ง เราอาจจะต้องการล็อคตำแหน่งแต่ละตำแหน่งที่ไม่เหมือนกันได้ โดยใช้การอ้างอิงแบบผสมผสานกันระหว่างการอ้างอิงแบบสัมพัทธ์และแบบสัมบูรณ์
การอ้างอิงแบบผสมผสาน
(Switch
between Relative and Absolute References)
การอ้างอิงแบบผสมผสานคือ การนำการอ้างอิงแบบสัมพัทธ์และแบบสัมบูรณ์มาใช้ในสูตรเดียวกัน
ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้สูตรของแต่ละตารางคำนวณ
โดยจะเน้นไปที่การประยุกต์ใช้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบตารางคำนวณ
การอ้างอิงไปยังตำแหน่งต่าง ๆ
เราสามารถกำหนดให้ล็อคเฉพาะคอลัมน์หรือแถวได้ โดยใช้เครื่องหมาย
$ เช่นเดียวกัน โดยใส่เครื่องหมาย
$ ไว้ข้างหน้าเฉพาะตำแหน่งที่ต้องการจะล็อค เช่น ในตำแหน่ง F2 ถ้าต้องการล็อคเฉพาะคอลัมน์ให้ใส่ $F2 หรือล็อคเฉพาะแถวให้ใส่
F$2 เมื่อมีการย้ายหรือคัดลอกสูตรตำแหน่งจะเปลี่ยนเฉพาะส่วนที่ไม่ได้ล็อค
การอ้างอิงข้ามชีทหรือข้ามไฟล์
บางครั้งเราอาจจำเป็นต้องใช้ข้อมูลที่มีอยู่ในชีทอื่นหรือไฟล์อื่น
การที่เราจะนำข้อมูลมาเก็บไว้ในชีทเดียวกันหรือไฟล์เดียวกันทั้งหมด
อาจจะไม่สะดวกต่อการใช้หรืออาจทำให้ไฟล์งานนั้น ๆ ใหญ่เกินไป
การลิงค์
(Link)
ข้อมูลจากชีทงานที่อยู่ในไฟล์เดียวกัน
ในการสร้างตารางข้อมูลใน Excel
เรามักจะใช้ชีทหนึ่งเป็นฐานข้อมูล และสร้างรายงานรูปแบบต่าง
ๆ ไว้ในชีทอื่น หรือการทำรายงานโดยแยกเป็นรายเดือนในแต่ละชีท
ดังนั้นในไฟล์เดียวกันจึงมักจะมีการลิงค์ข้อมูลระหว่างชีทงานซึ่งจะแสดงเป็นตัวอย่างให้ดูได้ดังนี้
การแทนที่ของสูตรที่มีการคัดลอก
รูปแบบการอ้างอิงในสูตร ซึ่งจะมีผลต่อการย้ายหรือคัดลอกสูตร เช่น การอ้างอิงแบบสัมพัทธ์จะทำให้ตำแหน่งสูตรเปลี่ยนแปลงเมื่อมีการย้ายหรือคัดลอก
หรือการล็อคตำแหน่งสูตรเปลี่ยนแปลงเมื่อมีการย้ายหรือคัดลอก
หรือการล็อคตำแหน่งแถวหรือคอลัมน์ก็มีผลต่อการคัดลอกเช่นเดียวกัน
การแทนที่สูตรด้วยค่าที่คำนวณได้
การแทนที่สูตรด้วยค่าจะเป็นการลบสูตรอย่างถาวร
โดย Excel
จะแทนที่เฉพาะค่าที่สูตรคำนวณได้ ซึ่งมีวิธีการดังต่อไปนี้
1. แดรกเมาส์เลือกเซลล์ที่ต้องการคัดลอก แล้วกดปุ่ม
<Ctrl+C> เพื่อสั่ง Copy
2. เลือกตำแหน่งเซลล์ที่ต้องการแทนที่
2. เลือกตำแหน่งเซลล์ที่ต้องการแทนที่
3.
คลิกขวาเลือกคำสั่งวางแบบพิเศษ
4. คลิกเลือกตัวเลือก ค่า เพื่อสั่งให้วางเฉพาะค่า
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น