เรื่อง การสร้างแผนภูมิ
แผนภูมิเป็นทัศนวัสดุที่แสดงความสัมพันธ์ของเรื่องราวต่างๆ
โดยอาศัยเส้น ของตัวอักษร และภาพลายเส้น หรือภาพโครงร่าง เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจในเรื่องราว
การสร้างแผนภูมิ
1.
คลิกที่ แท็บแทรก
2.
ในกลุ่มของ ภาพประกอบ
3. เลือกที่
แผนภูมิ
โปรแกรมจะเชื่อมต่อเข้ากับ Microsoft Excel เพื่อให้กรอกข้อมูล โดยสามารถแก้ไขข้อมูลต่างๆ ได้ โปรแกรมจะดึงข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อมาสร้างเป็นแผนภูมิใน Microsoft Word
หากต้องการที่จะแก้ไข ข้อมูลในแผนภูมิ ดังกล่าว
สามารถดับเบิลคลิกที่แผนภูมิ โปรแกรมจะนาเข้าสู่ Microsoft
Excel อีกครั้ง เพื่อแก้ไขข้อมูล
เลือกรูปแบบแผนภูมิที่ต้องการ โดยมีรูปแบบทั้ง 2 มิติ และ
3 มิติ หากต้องการที่จะสร้างแผนภูมิด้วยข้อมูลของตนเองนั้น โปรแกรม
Microsoft Word ต้องอาศัยการนำเข้าข้อมูลจาก Microsoft Excel
เท่านั้น หากต้องการดำเนินการต้องเปิดโปรแกรม Microsoft
Excel ขึ้นมาเพื่อกรอกข้อมูล 3 MICROSOFT WORD
การสร้างแผนภูมิด้วยข้อมูลของตนเอง
1.
เปิดโปรแกรม Microsoft Excel
2.
พิมพ์ข้อมูลที่ต้องการลงไปในโปรแกรม
3.
เลือกข้อมูลที่ต้องการในการสร้างแผนภูมิ
4.
เลือก แท็บแทรก เลือก แผนภูมิ
5.
เลือกรูปแบบแผนภูมิที่ต้องการ
จากนั้นการนำแผนภูมิเข้าสู่
Microsoft Word ทำได้โดยการ คัดลอกเอาแผนภูมิ ที่สร้างเสร็จแล้ว ไปวางยังหน้าเอกสารของ
Microsoft Word โดยข้อมูลต่างๆ สามารถแก้ไขได้จากหน้าของ
Microsoft Excel โดยข้อมูลต่างๆ จะถูกแก้ไขแบบอัตโนมัติ ไม่ต้องคัดลอกแผนภูมิจาก
Microsoft Excel ใส่ในหน้าเอกสารใหม่
1.
เลือกแผนภูมิจาก Microsoft Excel
2.
คลิกที่ คัดลอก
3.
เปิดเอกสารในหน้าที่ต้องการ
4.
คลิกที่ วาง
หากต้องการที่จะแก้ไขข้อมูลในแผนภูมิ สามารถทำได้โดยการ
คลิกขวา ที่แผนภูมิ แล้วเลือกที่ แก้ไขข้อมูล ระบบจะนำเข้าสู่หน้าของ
Excel อีกครั้งเพื่อทำการแก้ไขข้อมูล โดยข้อมูลจะอัพเดทจาก
Excel อัตโนมัติ
ในการนำเสนอข้อมูลตัวเลขจำนวนมาก
ๆ อาจทำให้ผู้ดูทำความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ ได้ไม่ชัดเจน
ดังนั้นการสื่อความหมายข้อมูลตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อนและมีปริมาณมาก ๆ ควรใช้ชาร์ต
หรือกราฟ ในการนำเสนอข้อมูล
เพื่อช่วยให้ผู้ดูนั้นสามารถสื่อความหมายและเกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยในโปรแกรม
Microsoft
Excel 2007
มีชาร์ตมากมายหลายประเภทให้เราเลือกใช้งานได้ตามความเหมาะสม
1.
การสร้างแผนภูมิ
การสร้างแผนภูมิโดยใช้
Chart
Wizard โปรแกรม Excel สามารถแปลงข้อมูลตัวเลขต่าง
ๆ ในตาราง ให้อยู่ในรูปแผนภูมิแบบต่าง ๆ ได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ แบบฝังบนแผ่นงาน เป็นวัตถุในแผ่นงานเดียวกับชุดข้อมูล และ
แบบแยกแผ่นงาน เป็นแผ่นงานเฉพาะซึ่งบรรจุแผนภูมิอย่างเดียว
สามารถนำเสนองานได้อย่างดี โดยมีขั้นตอน ดังนี้
1.1 ส่วนประกอบของกราฟ
โดยทั่วไปแล้วจะแตกต่างกันไปบ้างตามประเภทของกราฟ
แต่จะมีส่วนประกอบหลักที่ต้องแสดงเหมือน ๆ กัน ดังนี้
1.1.1 พื้นที่แผนภูมิ คือ พื้นที่แผนภูมิ :
แผนภูมิทั้งแผนภูมิและองค์ประกอบทั้งหมดของแผนภูมิ
1.1.2 พื้นที่การลงจุด ในแผนภูมิ 2 มิติ หมายถึง
พื้นที่ที่ล้อมรอบด้วยแกน รวมไปถึงชุดข้อมูลทั้งหมด ส่วนในแผนภูมิ 3 มิติ หมายถึง พื้นที่ที่ล้อมรอบด้วยแกน รวมไปถึงชุดข้อมูลชื่อประเภท
ป้ายแสดงชื่อประเภทบนแกน และชื่อแกน) ของแผนภูมิ
1.1.3 จุดข้อมูล คือ ค่าแต่ละค่าที่นามาลงจุดในแผนภูมิและถูกแสดงแทนด้วยแท่ง
คอลัมน์เส้น ชิ้นของวงกลมหรือของโดนัท จุด และรูปร่างอื่นๆ ซึ่งเรียกว่า
เครื่องหมายของข้อมูล
โดยเครื่องหมายของข้อมูลที่มีสีเดียวกันจะประกอบขึ้นเป็นชุดข้อมูลหนึ่งชุด
ชุดข้อมูล คือ จุดข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันที่นามาลงจุดในแผนภูมิ
แต่ละชุดข้อมูลในแผนภูมิจะมีสีหรือลวดลายที่ไม่ซํ้ากันและจะถูกแสดงในคำ
อธิบายแผนภูมิ คุณสามารถลงจุดให้กับชุดข้อมูลได้อย่างน้อยหนึ่งชุดขึ้นไปในหนึ่งแผนภูมิ
ยกเว้นแผนภูมิวงกลมที่จะมีชุดข้อมูลได้เพียงชุดเดียวเท่านั้น ที่ลงจุดในแผนภูมิ
1.1.4 แกน คือ
เส้นที่ล้อมรอบพื้นที่ลงจุดของแผนภูมิซึ่งใช้เป็นกรอบของการอ้างอิงสำหรับหน่วยวัด
โดยปกติแล้วแกน y จะเป็นแกนแนวตั้งและแสดงข้อมูล ส่วนแกน x
จะเป็นแกนแนวนอนและแสดงประเภท แนวนอน (ประเภท) และแนวตั้ง (ค่า)
ซึ่งมีการลงจุดข้อมูลตามแกนลงในแผนภูมิ
1.1.5 คำอธิบายแผนภูมิ คือ
กล่องที่ระบุลวดลายหรือสีที่ถูกกำหนดให้กับชุดข้อมูลหรือประเภทในแผนภูมิ
1.1.6 ชื่อ คือ ชื่อแผนภูมิ
ข้อความอธิบายที่ถูกจัดตำแหน่งไว้ให้โดยอัตโนมัติบนแกนหรือตรงกึ่งกลางที่ด้านบนสุดของแผนภูมิ
ของแผนภูมิและของแกน ที่คุณสามารถใช้ในแผนภูมิ
1.1.7 ป้ายชื่อข้อมูล คือ
ป้ายที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวแสดงข้อมูลซึ่งจะใช้แสดงจุดข้อมูลหรือค่าหนึ่ง
ๆ ที่มาจากเซลล์บนแผ่นข้อมูล
ที่คุณสามารถใช้ในการระบุรายละเอียดของจุดข้อมูลในชุดข้อมูล
1.2 ขั้นตอนการสร้างแผนภูมิ
1.2.1 เลือกข้อมูลที่จะสร้างแผนภูมิ ประกอบด้วยหัวข้อกับตัวเลขข้อมูลโดยการลาก
เมาส์
คลุมพื้นที่ข้อมูลที่ต้องการสร้างกราฟ ดังภาพ
1.2.2 คลิกเลือกรูปแบบแผนภูมิ โดยพิจารณาจากชุดข้อมูลเป็นหลัก ในที่นี้เลือก
แผนภูมิแบบคอลัมน์
ดังภาพ
1.2.3 คลิกเลือกรูปแบบแผนภูมิ เช่น แผนภูมิคอลัมน์สองมิติ แผนภูมิทรงกรวย
1.2.4 จะได้แผนภูมิตามรูปแบบที่กำหนด
1.2.5 คลิกเมาส์ที่มุมเพื่อขยายขนาดของกราฟ
1.3 ชนิดของกราฟ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น