หน่วยที่ 2

เรื่อง การจัดแต่งข้อมูล


           Microsoft Office Excel มีเครื่องมือที่สนับสนุนการกำหนดรูปแบบเซล และข้อมูลให้ตรงกับความต้องการของงานแต่ละงานได้เป็นอย่างดี การกำหนดรูปแบบของเซล และข้อมูลที่ดีนั้นจะทำให้เอกสารที่ได้มีความถูกต้อง สวยงาม ง่ายต่อการใช้งาน ส่วนใหญ่แล้วเครื่องมือต่างๆ ใน Microsoft Office Excel นั้นมีการทำงานติดต่อกับผู้ใช่เพื่อให้สามารถเข้าถึงเครื่องมือต่างๆ ได้สะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยได้รวบรวมเครื่องมือที่สำคัญในการจัดรูปแบบข้อมูลไว้ที่แท็บ Home ซึ่งแต่ละกลุ่มเครื่องมือมีรายละเอียดดังนี้
  v Font : จัดการเกี่ยวกับ แบบ ขนาด ลักษณะ สี พื้นหลังของตัวอักษร และของเซล
  v Alignment : จัดการเกี่ยวกับตำแหน่งของตัวอักษร หรือข้อความในเซล
  v Number : จัดการเกี่ยวกับการแสดงผลของตัวเลข
  v Style : จัดการรูปแบบเซลอัตโนมัติ รูปแบบตาราง รูปแบบการแสดงผลตามเงื่อนไข
  v Cell : จัดการรูปแบบของเซลใน Worksheet
   v Editing : จัดการข้อมูลใน Worksheet เช่น ใส่สูตรอย่างง่าย กรอง หรือค้นหาข้อมูล Font Number Cell Alignment Style Editing

การวาดเส้นกรอบเซล (Border) การวาดเส้นกรอบเซลสามารถทำได้โดยทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. เลือกเซล หรือกลุ่มเซลที่ต้องการจัดรูปแบบ
2. เลือกเครื่องมือ Border แล้วเลือกรูปแบบเส้นกรอบตามที่ต้องการ

Cell Styles เป็นการจัดรูปแบบเซลด้วยรูปแบบสำเร็จรูปที่ Microsoft Excel 2007 จัดเตรียมไว้ให้ซึ่งสามารถจัดรูปแบบต่างๆ เช่น รูปแบบข้อมูล ขนาดข้อมูล รูปแบบเซล หรือสีเซล ได้ในขั้นตอนเดียว ซึ่งเรายังสามารถปรับปรุง แก้ไข หรือสร้างรูปแบบของสไตล์ขึ้นมาใหม่ให้ตรงกับความต้องการของเราได้อีกด้วยการใช้งานสไตล์สามารถทำได้โดยทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. เลือกเซล หรือกลุ่มเซลที่ต้องการจัดรูปแบบ
2. เลือกเครื่องมือ Cell Styles แล้วเลือกรูปแบบเส้นกรอบตามที่ต้องการ


การสร้างสไตล์ บางครั้งเราต้องการสร้างรูปแบบของสไตล์ขึ้นมาใช้งานเองเพื่อให้ตรงกับความต้องการ การสร้างสไตล์สามารถทำได้โดยทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. เลือกเซล ที่จัดรูปแบบไว้แล้ว
2. เลือกเครื่องมือ Cell Styles แล้วเลือกคำสั่ง New Cell Styles
3. ตั้งชื่อสไตล์
4. สไตล์ที่กำหนดเองจะอยู่ในกลุ่มของ Custom


การลบสไตล์
การลบสไตล์สามารถทำได้โดยทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. เลือกสไตล์ที่ต้องการลบใน เครื่องมือ Cell Styles
2. คลิกเมาท์ขวา เลือกคำสั่ง Delete



การแก้ไขสไตล์
การแก้ไขสไตล์สามารถทำได้โดยทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. เลือกสไตล์ที่ต้องการแก้ไขใน เครื่องมือ Cell Styles
2. คลิกเมาท์ขวา เลือกคำสั่ง Modify หรือ Duplicate
3. กดปุ่ม Format
4. แก้ไขรูปแบบตามที่ต้องการ







Format as Table
การจัดรูปแบบตารางในลักษณะนี้ ถูกปรับปรุงมาจาก Microsoft Excel 2007 เวอร์ชั่นก่อนหน้า ซึ่ง
สามารถกรองข้อมูล เพิ่มแถวของผลรวม รวมถึงจัดรูปแบบของตารางให้โดยอัตโนมัติ
การจัดรูปแบบตารางสามารถทำได้โดยทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. เลือกเซลภายในตารางที่ต้องการจัดรูปแบบ
2. เลือกเครื่องมือ Format as Table
3. เลือกรูปแบบที่ต้องการ
4. กดปุ่ม OK


เมื่อเราใส่ข้อมูลลงในเซลแล้ว หากต้องการแก้ไข ทำซ้ำ หรือคัดลอกข้อมูลต่างๆ ได้โดยไม่ต้องใส่ใหม่
คงเป็นสิ่งดีไม่น้อยเพราะช่วยประหยัดทั้งเวลา และสามารถความผิดพลาดจากการพิมพ์ข้อมูลซ้ำๆ ได้ด้วย
การคัดลอกเซล (Copy) การคัดลอกเซลสามารถทำได้โดยทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. เลือกเซล หรือกลุ่มเซลที่ต้องการคัดลอก
2. เลือกแท็บ Home และเลือกคำสั่ง Copy (หรือกดปุ่ม Ctrl+C)
3. เลือกเซลปลายทางที่ต้องการคัดลอก
4. เลือกแท็บ Home และเลือกคำสั่ง Paste (หรือกดปุ่ม Ctrl+V)


การย้ายเซล (Cut) การย้ายเซลสามารถทำได้โดยทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. เลือกเซล หรือกลุ่มเซลที่ต้องการย้าย
2. เลือกแท็บ Home และเลือกคำสั่ง Cut (หรือกดปุ่ม Ctrl+X)
3. เลือกเซลปลายทางที่ต้องการย้าย
4. เลือกแท็บ Home และเลือกคำสั่ง Paste (หรือกดปุ่ม Ctrl+V)

วางแบบพิเศษ (Paste Special) Microsoft Excel ได้จัดเตรียมการวางแบบพิเศษไว้ให้ ซึ่งการวางแบบนี้ต่างจากการวางแบบทั่วไปคือ การวางแบบทั่วไปจะเป็นการคัดลอกรูปแบบจากต้นฉบับทั้งหมดมาตั้งแต่ รูปแบบ ลักษณะ สี หรือแม้กระทั่งสูตร แต่การวางแบบพิเศษนี้สามารถเลือกได้ว่าต้องการเพียงผลลัพธ์ในรูปแบบใดบ้างที่จะวางมายังตำแหน่งที่ต้องการ ซึ่งมีคำสั่งดังต่อไปนี้
  v All : คัดลอกคุณสมบัติจากต้นฉบับมาทั้งหมด
  v Formulas : คัดลอกเฉพาะสูตร
  v Values : คัดลอกเฉพาะค่าของข้อมูลโดยไม่คัดลอกสูตรมาด้วย
  v Format : คัดลอกเฉพาะรูปแบบเซล
  v Comments : คัดลอกเฉพาะคอมเมนท์
  v Validation : คัดลอกเฉพาะกฎการตรวจสอบข้อมูล
  v All using Source theme : คัดลอกเฉพาะธีม
  v All except boeders : คัดลอกทั้งหมดยกเว้นเส้นกรอบ
  v Column widths : คัดลอกเฉพาะความกว้างของคอลัมน์
  v Formulas and number formats : คัดลอกเฉพาะสูตร และรูปแบบตัวเลข
  v Values and number formats : คัดลอกเฉพาะค่าของข้อมูล และรูปแบบตัวเลข
  v หากเซลที่ต้องการคัดลอก และเซลที่ต้องการวางมีค่าเป็นตัวเลข เราสามารถกำหนดให้ทั้งสองเซลนั้นมี
  v การคำนวณก่อนที่จะวางได้ดังต่อไปนี้
  v None : ไม่มีการคำนวณใดๆ
  v Add : นำเซลที่คัดลอกมาบวกกับเซลปลายทางก่อนที่จะวาง
  v Subtract : นำเซลที่คัดลอกมาลบกับเซลปลายทางก่อนที่จะวาง
  v Multiply : นำเซลที่คัดลอกมาคูณกับเซลปลายทางก่อนที่จะวาง
  v Divide: นำเซลที่คัดลอกมาหารกับเซลปลายทางก่อนที่จะวางMicrosoft Excel ยังมีตัวเลือกพิเศษในการวางอีกดัง       ต่อไปนี้
Ø Skip blanks : หากเซลต้นฉบับเป็นเซลว่าง และเซลปลายทางมีข้อมูลอยู่ เซลปลายทางจะมีถูกแทนที่ด้วยเซลต้นฉบับที่เป็นเซลว่าง
Ø Transpose : เป็นการวางกลับข้อมูลจากกลุ่มเซลต้นฉบับ เช่น หากเซลกลุ่มเซลต้นฉบับเป็นแนวตั้ง เซลปลายทางจะถูกวางในรูปแบบของแนวนอนแทน
การแทรกเซล (Insert Cell) การแทรกเซลสามารถทำได้โดยทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. เลือกตำแน่งเซลที่ต้องการแทรก
2. เลือกแท็บ Home เลือกคำสั่ง Insert และ Insert Cells
3. เลือกรูปแบบของการแทรก ซึ่งมีรูปแบบดังต่อไปนี้
Ø Shift cells down : แทรกเซลใหม่โดยเลื่อนเซลเดิมลงด้านล่าง
Ø Shift cells right : แทรกเซลใหม่โดยเลื่อนเซลเดิมไปทางด้านขวา
Ø Entire row : แทรกเซลใหม่โดยเลื่อนแถวเดิมทั้งแถวลงด้านล่าง
Ø Entire column : แทรกเซลใหม่โดยเลื่อนคอลัมน์เดิมทั้งคอลัมน์ไปทางด้านขวา
การลบเซล (Delete Cell) การลบเซลสามารถทำได้โดยทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. เลือกตำแน่งเซลที่ต้องการลบ
2. เลือกแท็บ Home เลือกคำสั่ง Delete และ Delete Cells
3. เลือกรูปแบบของการแทรก ซึ่งมีรูปแบบดังต่อไปนี้
Ø Shift cells left : ลบเซลเดิม และเลื่อนเซลที่อยู่ทางด้านขวามาแทนที่
Ø Shift cells down : ลบเซลเดิม และเลื่อนเซลที่อยู่ทางด้านล่างขึ้นมาแทนที่
Ø Entire row : ลบทั้งแถว และเลื่อนเซลแถวด้านล่างเข้ามาแทนที่
Ø Entire column : ลบทั้งคอลัมน์ และเลื่อนเซลคอลัมน์ด้านขวาเข้ามาแทนที่
การล้างข้อมูลในเซล (Clear)
การล้างข้อมูลในเซลสามารถทำได้โดยทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. เลือกตำแน่งเซลที่ต้องการล้างข้อมูล
2. เลือกแท็บ Home เลือกคำสั่ง Clear
3. รูปแบบของการล้าง ซึ่งมีรูปแบบดังต่อไปนี้
Ø Clear All : ล้างข้อมูลทุกประเภท
Ø Clear Formats: ล้างเฉพาะรูปแบบ
Ø Clear Contents: ล้างเฉพาะข้อมูล
Ø Clear All: ล้างเฉพาะคอมเมนท์
การแทรกแถว หรือคอลัมน์ (Insert Sheet Rows or Insert Sheet Columns) การแทรกแถว หรือคอลัมน์สามารถทำได้โดยทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. เลือกตำแน่งที่ต้องการแทรกแถว หรือคอลัมน์
2. เลือกแท็บ Home เลือกคำสั่ง Insert และ Insert Sheet Rows หรือ Insert Sheet Columns
การลบแถว หรือคอลัมน์ (Delete Sheet Rows or Delete Sheet Columns) การลบแถว หรือคอลัมน์สามารถทำได้โดยทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. เลือกตำแหน่งที่ต้องการลบแถว หรือคอลัมน์
2. เลือกแท็บ Home เลือกคำสั่ง Delete และ Delete Sheet Rows หรือ Delete Sheet Columns
การซ่อนแถว หรือคอลัมน์ การซ่อนแถว หรือคอลัมน์สามารถทำได้โดยทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. เลือกตำแหน่งที่ต้องการซ่อนแถว หรือคอลัมน์
2. คลิกเมาท์ขวา เลือกคำสั่ง Hide
การแสดงแถว หรือคอลัมน์ การแสดงแถว หรือคอลัมน์สามารถทำได้โดยทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. เลือกตำแหน่งที่ต้องการแสดงแถว หรือคอลัมน์โดยต้องเลือกให้ครอบคลุมแถว หรือคอลัมน์เดิมที่ซ่อนไว้
2. คลิกเมาท์ขวา เลือกคำสั่ง Unhide
การปรับขนาดแถว หรือคอลัมน์ การปรับขนาดแถว หรือคอลัมน์สามารถทำได้โดยทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. นำเมาท์พ้อยเตอร์วางที่เส้นแบ่งแถว หรือคอลัมน์ จนปรากฏสัญลักษณ์ แล้วปรับขนาดตามต้องการ

2. หรือคลิกเมาท์ขวาที่แถว หรือคอลัมน์ที่ต้องการปรับ แล้วเลือกคำสั่ง Row Height หรือ Column Width

ลำดับการจัดเรียงเริ่มต้น
เมื่อคุณนำงานฐานข้อมูลมาสร้างในโปรแกรม Excel ส่วนใหญ่หลังจากสร้างงานเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่จะทำต่อไป คือ การจัดเรียงข้อมูลมีขั้นตอนดังนี้
1. คลิกตำแหน่งเซลล์ในหัวข้อที่ต้องการจัดเรียง จากตัวอย่างนี้เลือกเซลล์ใดก็ได้ในหัวข้อ Salary
2. ที่แท็บ Data หัวข้อ Sort & Filter คลิกปุ่มบนทูลบาร์ เพื่อเลือกเกณฑ์การจัดเรียง
    
              Sort Smallest to Largest จัดเรียงจากน้อยไปมาก (A ------ Z)
   
              Sort Largest to Smallest จัดเรียงจากมากไปน้อย (Z  ------ A)
การเรียงลำดับข้อมูลในช่วงหรือตาราง
1. ตำแหน่งเซลล์อยู่ในงาน Database
2. คลิกปุ่มเพื่อเปิดไดอะล็อกบ็อกซ์ Sort กำหนดรายละเอียดเพิ่มเติม

3. ที่ช่อง Sort by เลือกหัวข้อหลักในการจัดเรียงที่ช่อง Order เลือกเกณฑ์การจัดเรียง
4. คลิกปุ่มเพื่อเพิ่มหัวข้อรอง, หัวข้อที่ 3, 4, 5 ในการจัดเรียง เสร็จแล้วคลิกปุ่ม OK


ฐานข้อมูลคืออะไร
ฐานข้อมูล (Database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน นำมาเก็บรวบรวมเข้า ไว้ด้วยกันอย่างมีระบบและข้อมูลที่ประกอบกันเป็นฐานข้อมูลนั้น ต้องตรงตามวัตถุประสงค์การใช้ งานขององค์กรด้วยเช่นกัน เช่น ในสำนักงานก็รวบรวมข้อมูล ตั้งแต่หมายเลขโทรศัพท์ของผู้ที่มา ติดต่อจนถึงการเก็บเอกสารทุกอย่างของสำนักงาน ซึ่งข้อมูลส่วนนี้จะมีส่วนที่สัมพันธ์กันและเป็นที่ ต้องการนำออกมาใช้ประโยชน์ต่อไปภายหลัง ข้อมูลนั้นอาจจะเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของสถานที่ หรือ เหตุการณ์ใด ๆ ก็ได้ที่เราสนใจศึกษา หรืออาจได้มาจากการสังเกต การนับหรือการวัดก็เป็นได้ รวมทั้งข้อมูลที่เป็นตัวเลข ข้อความ และรูปภาพต่าง ๆ ก็สามารถนำมาจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลได้ และที่สำคัญข้อมูลทุกอย่างต้องมีความสัมพันธ์กัน เพราะเราต้องการนำมาใช้ประโยชน์ต่อไปใน อนาคต

ตัวอย่าง 
ชื่อฐานข้อมูล                                                                       กลุ่ม ข้อมูล
บริษัท                                                                                           Ø    พนักงาน
                                 Ø    ลูกค้า
                                 Ø    สินค้า
                                 Ø    ใบสั่งสินค้า


โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย                                                                    Ø    นักเรียน
                                 Ø    อาจารย์
                                 Ø    วิชา
                                 Ø    การลงทะเบียน


ส่วนประกอบของฐานข้อมูล
ฐานข้อมูลใน Excel ถ้าพูดกันง่าย ๆ แล้วก็คือตาราง (Table) นั่นเอง ซึ่ง ประกอบด้วย ฟิลด์ (Field) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่ประกอบด้วยหลาย ๆ ตัวอักษร เพื่อแทน ความหมายของสิ่งหนึ่ง เช่น รหัสพนักงาน ชื่อ เป็นต้น
เรคคอร์ด หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำเอาฟิลด์หลาย ๆ ฟิลด์มารวมกันเพื่อแสดงรายละเอียดข้อมูลในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น เรคคอร์ดหนึ่ง ๆ ของพนักงาน ประกอบด้วย ฟิลด์ ต่าง ๆ เช่น รหัสพนักงาน ชื่อ แผนก เงินเดือน เป็นต้น 


การสร้างฐานข้อมูล
ขั้นตอนการสร้างฐานข้อมูล
1.       ตั้งชื่อฟิลด์หรือคอลัมน์ มีข้อจำกัดว่าชื่อฟิลด์นั้นต้องมีชื่อไม่ซ้ำกัน
2.       กรอกข้อมูลลงในเรคคอร์ดที่ 1 ให้ครบ และตามด้วยเรคคอร์ดที่ 2 และ 3 ไปจนครบ
3.       ทำการบันทึกข้อมูล

การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
ในระหว่างสร้างฐานข้อมูลใน Excel เราอาจจะกําหนดชื่อฟิลด์เอาไว้ก่อน แล้วให้ผู้อื่นมาป้อนข้อมูลลงไปก็ได้ อย่างไรก็ตามผู้กรอกข้อมูลอาจทำงานผิดพลาด ป้อนข้อมูลผิด ๆ ลงไป ดังนั้น เพื่อป้องกันปัญหานี้เราจึงควรปรับแต่งให้ Excel ทำการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ป้อนลงไปด้วย จะสามารถลดความผิดพลาดในการป้อนข้อมูลผิดลงไปได้มาก สามารถเลือกใช้ลักษณะ


จากตารางตัวอย่าง ทดลองทำในฟิลด์ชื่อสินค้า โดยคลิกเลือกคอลัมน์ที่ใช้พิมพ์ชื่อสินค้า แล้วใช้คำสั่งการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลของกลุ่มคำสั่งเครื่องมือข้อมูลในแท็บข้อมูลจะเปิดกล่องโต้ตอบการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล

จะปรากฏกล่องโต้ตอบดังรูป


ที่แท็บการตั้งค่า ให้คลิกเลือกรายการในช่องอนุญาตให้ และกําหนดช่วงข้อมูลที่ครอบคลุม ชื่อสินค้าทั้งหมดควรมีการป้อนข้อมูลชื่อสินค้าให้ครบและต่อเนื่องกันไว้ก่อน












หลังจากนี้เรามาทดลองป้อนข้อมูลลงในช่องที่ได้ปรับแต่งไว้แล้วในฟิลด์ชื่อสินค้าของ ระเบียนต่อไป โดยคลิกเลือกเซลล์ต่อไป จะปรากฏกรอบข้อความที่ใส่แสดงอยู่ และมีปุ่มเลือก รายการอยู่ด้วย ถ้าจะป้อนข้อมูลให้เลือกรายการในนั้นได้เลย โดยไม่ต้องพิมพ์


การจัดการฐานข้อมูล
เมื่อเราได้ป้อนข้อมูลจนครบทุกระเบียนแล้ว ก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ได้ แต่สิ่งสำคัญในการจัดทำตารางข้อมูลเป็นฐานข้อมูลใน Excel นั้น คือ ข้อมูลที่ป้อนต้องอยู่ในแถวหรือ ระเบียนที่ติดต่อกันโดยตลอดทั้งหมด และไม่มีการผสานเซลล์ ในการที่จะใช้ประโยชน์จาก ฐานข้อมูลที่ดีที่สุด ควรที่จะแยกข้อมูลและรายละเอียดออกเป็นฟิลด์ ๆ หนึ่งได้เท่าที่จะทำได้ เช่น คำนำหน้า ชื่อ สกุล เพศ วัน เดือน ปี ฯลฯ และการจัดการฐานข้อมูลได้นั้น ต้องคลิกเลือกเซลล์ใดเซลล์หนึ่งในตารางข้อมูลนั้น แล้วจึงคลิกแท็บข้อมูล จะมีคำสั่งในหลายกลุ่มคำสั่งที่นำมาใช้ประโยชน์คำสั่งต่าง ๆ ในกลุ่มคำสั่งของแท็บข้อมูล ซึ่งใช้จัดการฐานข้อมูล


การจัดเรียงข้อมูล(Data Sort)
เมื่อเราป้อนข้อมูลมาจนครบหรือในชุดข้อมูลที่มีอยู่แล้ว เราสามารถที่จะจัดเรียง ข้อมูลเพื่อ ดูลำดับของข้อมูลได้ เช่น รหัสสินค้า ชื่อสินค้า ราคา โดยถ้าต้องการเรียงลำดับ เพียงฟิลด์เดียว ให้ คลิกเลือกเซลล์ใดเซลล์หนึ่งในฟิลด์นั้น แล้วในกลุ่มคำสั่งเรียงลำดับและกรอง ของแท็บข้อมูลให้คลิกปุ่ม  จะเรียงจากน้อยมาหามาก และปุ่มจะเรียงจากมากมาหาน้อย

ตัวอย่างเป็นการเรียง ตามรหัสสินค้าจากมากไปหาน้อย

1.       เลือกฟิลด์ รหัสสินค้า 


2. เลือกแถบ Ribbon ข้อมูล


3. คลิกปุ่ม  ถ้าต้องการเรียงจากน้อยไปหามาก และปุ่ม ถ้าต้องการเรียงจากมาก ไปหาน้อย จะปรากฏหน้าต่างนี้ขึ้นมา 

หลังจากนั้นให้ใส่ลำดับการจัดเรียงโดยคลิกที่ดรอบดาวน์ลิส มีทั้งหมด 3 เงื่อนไขให้เลือก กรณีที่ในแต่ละคอลัมน์มีค่าซ้ำกัน

ตัวกรองอัตโนมัติ (Auto Filter )
เป็นการกรองข้อมูลให้เหลือเฉพาะข้อมูลตามที่เราต้องการในกรณีที่ข้อมูลมีจำนวนมาก จนไม่สามารถจะจัดเรียงลำดับแล้วค้นหาได้ด้วยการไล่ดูทีละระเบียน เราสามารถที่จะ ค้นหาสิ่งที่ ต้องการได้ โดยใช้ตัวกรอง ที่มีอยู่ 2 แบบ คือ ตัวกรองอัตโนมัติ และตัวกรองขั้นสูง ที่ คำสั่งตัวกรองและตัวกรองขั้นสูง  ในกลุ่มคำสั่งเรียงลำดับและตัวกรองของแท็บข้อมูล  ดังต่อไปนี้

การใช้ตัวกรองอัตโนมัติ
ใช้คำสั่งตัวกรองอัตโนมัติ จะมีปุ่มขึ้นที่ท้ายเซลล์ของหัวตาราง สำหรับเปิด รายการเรียงลำดับและกรองข้อมูล



   ต้องการกรองข้อมูลฟิลด์ใดให้ใช้เม้าส์คลิกที่ปุ่มที่ปรากฏท้ายชื่อฟิลด์นั้นๆ เช่นต้องการ กรองประเภทสินค้าเฉพาะ Power Point


 เมื่อกดตกลงจะได้ผลลัพธ์ ดังนี้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น