หน่วยที่ 6

เรื่อง การประยุกต์เพื่อใช้ในงานอาชีพ 



โดยทั่วไปการใช้งานโปรแกรม Microsoft Excel มักจะใช้ในงานด้านการคำนวณ การทำบัญชีเงินเดือน ประมวลผลคะแนนนักเรียน จัดการเกี่ยวกับฐานข้อมูลและการสร้างแผนภูมิเป็นส่วนใหญ่ ในเอกสารเล่มนี้ได้มีการนำโปรแกรม Microsoft Excel มาประยุกต์ใช้ในการสร้างเกมเพื่อฝึกพัฒนาทักษะความรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ ต่าง ๆ เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และศิลปะโดยนักเรียนจะต้องนำความสามารถของโปรแกรม Microsoft Excel และความรู้ของนักเรียนมาออกแบบและสร้างสรรค์ชิ้นงาน

เกมพัฒนาทักษะความรู้

เริ่มต้นใช้งานโปรแกรม Microsoft Excel

1. คลิก     
2. คลิก

3. เลือก   
4. เลือกเข้าสู่โปรแกรม

5. จะปรากฏหน้าต่างตารางทางาน Microsoft Excel ให้ใช้มุมมองการทำงานที่ 100%

6. รูปแบบตัวอักษร Tahoma (ป้องกันการเปลี่ยนแปลงของตัวอักษรเมื่อเปิดที่เครื่องอื่น)

ตัวอย่าง : หน้าต่างโปรแกรม Microsoft Excel เมื่อเริ่มเปิดใช้งาน



วิธีสร้างชื่อเกม
1. พิมพ์ชื่อเกมลงในเซลล์ ตามที่กำหนด ปรับขนาดตัวอักษรให้เหมาะกับพื้นที่ แล้วตกแต่งสีตามต้องการ




2. ประดิษฐ์ตัวอักษรชื่อเกม โดยใช้เมนูแทรก คลิกอักษรศิลป์ (Word Art) เลือกรูปแบบแล้วพิมพ์ชื่อเกม

  """อาเซียนพาเพลิน"""
 
 







3. ใช้โปรแกรม Adobe Photoshop ประดิษฐ์ตัวอักษรชื่อเกม บันทึกชื่อเกมโดยให้นามสกุลเป็น .gif หรือ .jpg แล้วใช้วิธีแทรกรูปภาพลงในแผ่นงาน




4. จัดรูปแบบและขนาดตัวอักษรชื่อเกมให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม


การตกแต่งพื้นที่ตารางทำงาน
การจัดรูปแบบตัวอักษรและตัวเลข
สามารถใช้เมนู หน้าแรก (Home) จัดรูปแบบตัวอักษรจากกลุ่มเครื่องมือ จัดรูปแบบ (Format) เช่น แบบอักษร การจัดแนว และตัวเลข



การกำหนดสีพื้นตกแต่งตาราง
1. เลือกพื้นที่ที่ต้องการ
2. คลิกลูกศรหลัง สีเติม (Fill Color) จากกลุ่มเครื่องมือ
3. โปรแกรมจะกำหนดสีของชุดรูปแบบมาให้เลือก
4. คลิกเลือกสีที่ต้องการ

การใช้รูปภาพเป็นพื้นหลังแผ่นงาน
1. คลิกเมนู เค้าโครงหน้ากระดาษ (Page Layout)
2. คลิก  พื้นหลัง (Background)
3. เลือกรูปภาพที่ต้องการ คลิก แทรก (Insert)
4. ภาพที่เลือกจะปรากฏเป็นพื้นหลังแผ่นงาน





Note : 1. การยกเลิกรูปภาพพื้นหลังแผ่นงาน ให้คลิกลบพื้นหลัง ( Delete Background)
2. ขนาดของรูปภาพควรมีขนาดเท่ากับ หรือ มากกว่าความละเอียดของการแสดงผลบนจอภาพ

การกำหนดเสียงในตารางทำงาน
หลายคนอาจจะไม่เคยทราบมาก่อนว่า โปรแกรม Microsoft Excel สามารถกำหนดเสียงพูดโดยที่ไม่ต้องบันทึกเสียงเพิ่มเติม เพียงกำหนด Add-ins ที่มีมาใน Microsoft Office โดยมีขั้นตอนในการติดตั้งดังนี้
1. คลิก Office เลือก
2. คลิกเลือกคาสั่งที่ไม่อยู่ใน Ribbon



3. เลือก   และคลิก ทีละรายการ
4. เมื่อครบทุกรายการ คลิก

Note : การกำหนดเสียงจะมีผลเฉพาะ เครื่องที่ติดตั้ง Add-ins ของเสียงเพิ่มเท่านั้น

การแทรกวัตถุในตารางทำงาน
การแทรกรูปภาพในตาราง
1. คลิกเมนู แทรก (Insert)
2. คลิก รูปภาพ (Picture)
3. คลิกเลือกโฟลเดอร์ที่มีรูปภาพ
4. คลิกเลือกรูปภาพที่ต้องการ
5. คลิก แทรก (Insert)
6. จัดตำแหน่ง หรือย่อ-ขยายตามต้องการ
การแทรกอักษรศิลป์
1. คลิกเมนู แทรก (Insert)
2. คลิก   อักษรศิลป์ (Word Art)
3. เลือกรูปแบบอักษรศิลป์ที่ต้องการ

4. พิมพ์ข้อความแทนที่ลงในใส่ข้อความของคุณที่นี่


Note : หากต้องการเปลี่ยนรูปแบบให้คลิกเมนู รูปแบบ แล้วเลือก ลักษณะอักษรศิลป์



การแทรกรูปร่างอัตโนมัติ
1. คลิกเมนู แทรก (Insert)
2. คลิก   รูปร่าง (Auto sharp)
3. เลือกรูปแบบของรูปร่างที่ต้องการ




4. คลิกลากเม้าส์เพื่อสร้างรูปร่าง

5. คลิกเมนู รูปแบบ (Format) แล้วเลือก ลักษณะรูปร่าง ตกแต่งรูปร่างตามต้องการ


Note : 1. ต้องการพิมพ์ข้อความ คลิกขวา เลือก แก้ไขข้อความ
2. ต้องการแทรกรูปภาพ คลิก เติมสีรูปร่าง เลือก รูปภาพ..
3. ต้องการตกแต่งเพิ่มเติม คลิก ลักษณะพิเศษรูปร่าง

การจัดการแถว คอลัมน์ และเซลล์
การปรับความสูงของแถว
1. เลือกแถวที่ต้องการปรับความสูง
2. คลิกเมนู หน้าแรก (Home)
3. คลิก  รูปแบบ (Format)
4. เลือก  ความสูงของแถว... (Row Height..)



5. ระบุความสูงที่ต้องการ คลิก    

การปรับความกว้างของคอลัมน์
1. เลือกคอลัมน์ที่ต้องการปรับความกว้าง
2. คลิกเมนู หน้าแรก (Home)
3. คลิก   รูปแบบ (Format)
4. เลือก   ความกว้างคอลัมน์... (Column Width..)


5. ระบุความกว้างที่ต้องการ คลิก   

การแทรกแถวและคอลัมน์
1. คลิกแถวหรือคอลัมน์ที่ต้องการแทรก
2. คลิกเมนู หน้าแรก (Home)
3. คลิก แทรก (Insert)
4. จะปรากฏแถวหรือคอลัมน์เพิ่มเข้ามาตามจานวนที่เลือก

การลบแถวและคอลัมน์
1. คลิกแถวหรือคอลัมน์ที่ต้องการลบ
2. คลิกเมนู หน้าแรก (Home)
3. คลิก   ลบ (Delete)
4. แถวและคอลัมน์ที่ถูกเลือกไว้จะถูกลบไป

การซ่อนข้อมูลในเซลล์

หลังจากสร้างเกมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ลองป้อนและลบข้อมูลในเซลล์ ทดสอบการใช้สูตรให้แน่ใจว่าสูตรการคำนวณและการอ้างอิงถูกต้องสมบูรณ์ จากนั้นให้ซ่อนข้อมูลหรือสูตรในเซลล์โดยเลือกวิธีใดวิธีหนึ่งตามความเหมาะสม ดังนี้
1. เปลี่ยนสีตัวอักษรคะแนนให้เป็นสีเหมือนกับสีพื้นหลัง
2. เปลี่ยนขนาดตัวอักษรในเซลล์ที่ปรากฏคะแนน ให้มีขนาดเท่ากับ 1
3. ใช้คาสั่งซ่อนแถวหรือคอลัมน์ที่ปรากฏคะแนน

การจัดการแผ่นงานในตารางทำงาน
ตามปกติแผ่นงานในตารางทางานเมื่อเปิดโปรแกรมครั้งแรกจะปรากฏมาให้เพียง 3 แผ่นงานเท่านั้น ผู้ใช้งานสามารถลบและเพิ่มได้ตามต้องการ ซึ่งสามารถเพิ่มได้สูงสุดถึง 255 แผ่นงาน

การเพิ่มแผ่นงาน
1. คลิกเมนู หน้าแรก (Home)
2. คลิก 6 จาก  แทรก (Insert)
3. เลือก  แทรกแผ่นงาน (Insert Worksheet)
4. จะปรากฏแผ่นงานเพิ่มเข้ามา

การลบแผ่นงาน
1. คลิกแผ่นงานที่ต้องการลบ
2. คลิกเมนู หน้าแรก (Home)
3. คลิก 6 จากลบ (Delete)

4. เลือก  ลบแผ่นงาน (Delete Worksheet)
5. แผ่นงานนั้นจะถูกลบ หากมีข้อมูลจะปรากฏคาถามให้คลิก

การเปลี่ยนชื่อแผ่นงาน
1. คลิกขวาแผ่นงานที่ต้องการเปลี่ยนชื่อ
2. เลือก เปลี่ยนชื่อ (Rename)
3. พิมพ์ชื่อที่ต้องการแทนที่ชื่อเดิม

การเปลี่ยนสีป้ายชื่อแผ่นงาน
1. คลิกขวาแผ่นงานที่ต้องการเปลี่ยนสี
2. คลิก สีแท็บ.. (Tab Color..)
3. คลิกเลือกสีที่ต้องการจากตาราง
4. สีแผ่นงานจะเปลี่ยนตามที่เลือกไว้





การใช้งานเครื่องมือคัดลอกรูปแบบ
ตัวคัดวางรูปแบบเป็นเครื่องมือช่วยให้ทางานที่ซ้ำๆ กันได้เร็วขึ้น เนื่องจากสามารถคัดลอกรูปแบบที่เหมือนกันไปจัดวางในเซลล์อื่นๆ ตามต้องการโดยที่ข้อมูลในเซลล์นั้นไม่เปลี่ยนแปลง โดยมีวิธีการใช้งาน ดังนี้
1. คลิกเมนู หน้าแรก (Home)
2. คลิกเลือกเซลล์ตัวอย่างที่ได้จัดรูปแบบไว้แล้ว
3. คลิกตัวคัดวางรูปแบบ (Format Painter) บนแถบเครื่องมือ
4. นำเมาส์ไปคลิกตำแหน่งที่ต้องการจัดรูปแบบตามเซลล์ตัวอย่าง
5. รูปแบบของข้อมูลในเซลล์นั้นจะเปลี่ยนไปตามตัวอย่างที่เลือก

Note : หากต้องการนารูปแบบไปใช้หลาย ๆ ที่ในคราวเดียวกัน ให้ดับเบิ้ลคลิกที่ รูป
จะมีผลให้สามารถคัดวางรูปแบบนั้นไปใช้ได้เรื่อย ๆ จนกว่าจะคลิกที่ไอคอนนี้ซ้ำอีกครั้ง


เครื่องหมายและการคำนวณ ในโปรแกรม Microsoft Excel

เครื่องหมายในการคำนวณ
เครื่องหมายในการคำนวณของ โปรแกรม Microsoft Excel มีลักษณะการทางานเช่นเดียวกับเครื่องหมายคำนวณในทางคณิตศาสตร์ แต่มีเครื่องหมายบางอย่างที่อาจเขียนรูปที่ไม่เหมือนเดิม เช่น คูณ หาร และ ยกกาลัง เป็นต้น

เครื่องหมายในการคำนวณ เครื่องหมายในการเปรียบเทียบ
+ คือ บวก                 = คือ เท่ากับ
- คือ ลบ                   > คือ มากกว่า
* คือ คูณ                  < คือ น้อยกว่า
/ คือ หาร                  >= คือ มากกว่าหรือเท่ากับ
^ คือ ยกกาลัง             <= คือ น้อยกว่าหรือเท่ากับ
% คือ เปอร์เซ็นต์         <> คือ ไม่เท่ากับ

เครื่องหมายในการเชื่อมข้อความ
& เชื่อมระหว่างข้อความระหว่างเซลล์ที่กำหนด เช่น =A1&B1


เครื่องหมายในการอ้างอิง
: (โคล่อน) ใช้บอกช่วงข้อมูล เช่น
A:A หมายถึง ทั้งคอลัมน์ A                   A2:A8 หมายถึง จากเซลล์ A2 ถึง A8
1:3 หมายถึง ทั้งแถวที่ 1 และแถวที่ 3      A:IV หมายถึง ทั้งตารางทำงาน

ลำดับในการคำนวณ
การคำนวณข้อมูลแต่ละชุดคาสั่ง ถ้ามีการใช้เครื่องหมายหลายชนิดในคาสั่งเดียวกัน โปรแกรม Microsoft Excel จะคำนวณข้อมูล โดยเรียงตามลาดับก่อน-หลัง ดังนี้




Note : การทำงานของเครื่องหมายที่อยู่ในลาดับเดียวกัน จะคำนวณจากซ้ายไปขวาตามลาดับ ดังนั้น
ถ้าต้องการให้คำนวณส่วนใดก่อน ให้ใส่เครื่องหมาย ( ) ไว้ในส่วนนั้น
ตัวอย่าง : การคำนวณตามลาดับการทางานของเครื่องหมาย
=2+5*6 ถ้าคำนวณตามหลักคณิตศาสตร์ จะได้คาตอบ 42
(นำ 2 บวกกับ 5 ผลลัพธ์เท่ากับ 7 แล้วนำ 7 มาคูณกับ 6 ผลลัพธ์จึงเท่ากับ 42)
=2+5*6 ถ้าคำนวณตามหลักของโปรแกรม Microsoft Excel จะได้ 32
(นำ 5 คูณกับ 6 ผลลัพธ์เท่ากับ 30 แล้วนำ 2 มาบวกกับ 30 ผลลัพธ์จึงเท่ากับ 32)
จากตัวอย่างโจทย์ในข้อนี้ ถ้าต้องการให้คาตอบเท่ากับ 42 จะต้องเปลี่ยนโจทย์เป็น =(2+5)*6

สูตรและฟังก์ชันที่ใช้ในการสร้างเกม

สูตรในการให้คะแนนย่อย
ฟังก์ชัน IF ใช้สาหรับคำนวณค่าโดยมีเงื่อนไขทดสอบ และมีทางเลือกเป็น 2 ทางเลือก คือ เงื่อนไขเป็นจริงและเป็นเท็จ ตัวอย่าง
=IF(G4=8,1,0)   หมายความว่า ถ้าเซลล์ G4 มีค่าเท่ากับ 8 ให้คะแนน 1 แต่ถ้าไม่ใช่ 8 ให้คะแนน 0
=IF(G4="R",5,0) หมายความว่า ถ้าเซลล์ G4 มีตัวอักษร R ให้คะแนน 5 แต่ถ้าไม่ใช่ R ให้คะแนน 0
=IF(G4="เชียงใหม่",1,0)   หมายความว่า ถ้าเซลล์ G4 มีข้อความ เชียงใหม่ ให้คะแนน 1 แต่ถ้าไม่ใช่ เชียงใหม่ ให้คะแนน 0
=IF(G4="เชียงใหม่",1,IF(G4="Chiangmai",1,0))หมายความว่า ถ้าเซลล์ G4 มีข้อความ เชียงใหม่ หรือ Chiangmai ให้คะแนน 1 แต่ถ้าไม่ใช่ทั้ง 2 คำ ให้คะแนน 0
=IF(G4="เชียงใหม่",1,IF(G4="Chiangmai",5,0)) หมายความว่า ถ้าเซลล์ G4 มีข้อความ เชียงใหม่ ให้ 1 คะแนน แต่ถ้าเป็น Chiangmai ให้คะแนน 5 แต่ถ้าไม่ใช่ทั้ง 2 คำ ให้คะแนน 0

Note : สามารถใช้ IF ได้หลายครั้งในกรณีมีหลายเงื่อนไข หรือให้ตอบได้หลายอย่าง แต่จะต้องปิด
เครื่องหมาย ) ให้เท่ากับจำนวนครั้งที่มี (

สูตรในการหาผลรวมคะแนน
ฟังก์ชัน SUM ใช้สาหรับหาค่าผลรวมของข้อมูลที่กำหนด ตัวอย่าง
=SUM(D5:H5) หมายความว่า รวมคะแนน ตั้งแต่เซลล์ D5 จนถึงเซลล์ H5
=SUM(D5,D10,D15,D20) หมายความว่า รวมคะแนนเฉพาะเซลล์ D5,D10,D15,D20
=D5+D10+D15+D20 หมายความว่า รวมคะแนนเฉพาะเซลล์ D5,D10,D15,D20
=Sheet2!E4+Sheet3!E4+Sheet4!E4 หมายความว่า รวมคะแนนจาก Sheet2 เซลล์ E4
รวมกับคะแนนจาก Sheet3 เซลล์ E4 และรวมกับคะแนนจาก Sheet4 เซลล์ E4

สูตรในการให้แรงเสริมและกำลังใจ
ฟังก์ชัน IF ใช้สาหรับคำนวณค่าโดยมีเงื่อนไขทดสอบ ตัวอย่าง
=IF($J$10=10,"ยอดเยี่ยมมากเลยค่ะ",IF($J$10>=7,"เก่งมากค่ะ",IF($J$10>=4,"พอใช้ได้ค่ะ",IF($J$10=0,"พยายามอีกนะค่ะ"))))
หมายความว่า ถ้าเซลล์ J10 มีคะแนนเท่ากับ 10 ให้ปรากฏข้อความ ยอดเยี่ยมมากเลยค่ะ
ถ้าเซลล์ J10 มีคะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 7 ให้ปรากฏข้อความ เก่งมากค่ะ
ถ้าเซลล์ J10 มีคะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 4 ให้ปรากฏข้อความ พอใช้ได้ค่ะ
ถ้าเซลล์ J10 มีคะแนนเท่ากับ 0 ให้ปรากฏข้อความ พยายามอีกนะค่ะ

สูตรในการหาเปอร์เซ็นต์
การหาจำนวนของการเล่นเกมหรือตอบคาถามว่าทาได้กี่เปอร์เซ็นต์ คือ การนำค่าคะแนนที่ทำได้ มาหารด้วยจำนวนของคำตอบทั้งหมด เช่น
=H14/6 คือ ให้นำคะแนนรวมที่อยู่ในเซลล์ H14 มาหารด้วย จำนวนข้อคำตอบทั้งหมด
จากนั้นให้ กำหนดการจัดรูปแบบตัวเลข
1. คลิกขวาในเซลล์ที่ต้องการ
2. เลือก จัดรูปแบบเซลล์ (Format Cell..)
3. คลิก ตัวเลข (Number)
4. เลือก เปอร์เซ็นต์ (Percent) ดังรูป **ขณะนี้คุณทาได้
5. คลิก ตกลง (OK)


การจัดรูปแบบเซลล์แบบมีเงื่อนไข
การจัดตกแต่งเซลล์แบบปกติทั่วไป จะเห็นได้ว่าถ้าเรากำหนดให้สีพื้นเซลล์เป็นสีเหลือง โปรแกรมก็จะแสดงเป็นสีเหลือง ซึ่งเป็นการจัดตกแต่งเซลล์แบบไม่มีเงื่อนไข แต่ถ้าเราต้องการกำหนดสีโดยให้การแสดงสีขึ้นอยู่กับค่าหรือคำตอบของข้อมูลในเซลล์ เช่น เซลล์ที่กำหนดให้แสดงคาตอบ ถ้าคาตอบในเซลล์ถูกต้อง ต้องการให้สีเซลล์เปลี่ยนด้วย ซึ่งสามารถกำหนดได้หลายเงื่อนไขในเซลล์เดียวกัน โดยมีวิธีการดังนี้

การจัดรูปแบบเซลล์แบบมีเงื่อนไข
1. คลิกเซลล์ที่ต้องการจัดรูปแบบอย่างมีเงื่อนไข กำหนดสีพื้นเซลล์ตามปกติ เช่น สีแดง

2. คลิกเมนู หน้าแรก (Home)
3. คลิก การจัดรูปแบบตามเงื่อนไข (Conditional Formatting)
4. เลือก  เลือก 

5. เมื่อปรากฏหน้าต่าง เท่ากับ ให้พิมพ์ เงื่อนไข ที่ต้องการในช่อง ดังรูป


6. เลือก กำหนดการจัดรูปแบบเอง 

7. กำหนดรูปแบบที่ต้องการ เช่น
- ตัวเลข
- แบบอักษร
- เส้นขอบ
- การเติม

8. คลิก    

Note : หากต้องการกำหนดรูปแบบเพิ่มเติมให้ทำซ้ำตั้งแต่ข้อ 2-8 อีกครั้ง

การแก้ไขรูปแบบเซลล์ที่มีเงื่อนไข
1. คลิกเซลล์ที่ต้องการแก้ไขรูปแบบ
2. คลิกเมนู หน้าแรก (Home)
3. คลิก   การจัดรูปแบบตามเงื่อนไข (Conditional Formatting)
4. เลือก 
  
5. จะปรากฏหน้าต่าง ตัวจัดการกฎการจัดรูปแบบตามเงื่อนไข


6. เลือก   เพื่อแก้ไขกฎหรือลบกฎ ตามต้องการ

การกำหนดการแสดงผลแบบสมบูรณ์
ในแผ่นงานของโปรแกรม Microsoft Excel เต็มไปด้วยเส้นตารางทั้งหมด หลังจากสร้างงานจนเสร็จเรียบร้อยแล้วสามารถกำหนดการแสดงงานผลบนหน้าจอให้มีความสมบูรณ์มากขึ้นโดยการยกเลิกรายละเอียดของหน้าต่างโปรแกรม ดังนี้
1. คลิกแผ่นงานที่ต้องการแสดงผล
2. คลิกเมนู มุมมอง (View)

3. คลิกยกเลิก   

Note : หากต้องการแสดงผลแบบเต็มหน้าจอให้คลิก และยกเลิกโดยกด ESC

การสร้างรายการตัวเลือกสำหรับคำตอบ (List)
การสร้างรายการสำหรับเลือกตอบ เป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้เล่นเกม สาหรับคำตอบที่มี ความยาวมาก หรือคำตอบที่เป็นประโยค สามารถคลิกตัวเลือกแล้วปรากฏคาตอบโดยอัตโนมัติ เพราะหากพิมพ์คำตอบผิดหรือเว้นวรรคผิดจากที่กำหนดไว้ จะทาให้ไม่ได้คะแนนจากช่องคำตอบนั้นเลย

การสร้างตัวเลือกสำหรับคำตอบ
1. พิมพ์รายการตัวเลือกของคำตอบ (ในเซลล์ที่ไม่ได้ใช้งาน) ดังตัวอย่าง
2. คลิกในเซลล์ที่ต้องการสร้างรายการตัวเลือกของคำตอบ เช่น C3
3. คลิกเมนู ข้อมูล (Data)
4. เลือก  

5. จะปรากฏหน้าต่าง การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ดังรูป



6. ในเงื่อนไข อนุญาตให้ : เลือกเป็น รายการ

7. ในเงื่อนไข แหล่งข้อมูล : ให้นาเมาส์ไปลากคลุมพื้นที่ของ รายการที่พิมพ์ไว้ในข้อ 1

8. คลิก   

9. ทดสอบการใช้รายการตัวเลือก (List) โดยการคลิกในเซลล์ เช่น C3 จะปรากฏสัญลักษณ์



การบันทึกแฟ้มข้อมูล (Save)
1. คลิก  Office เลือกบันทึกเป็น (Save As…)
2. คลิกเลือกไดรฟ์ที่ต้องการจัดเก็บข้อมูล เช่น C: D: หรือ E:
3. ดับเบิ้ลคลิกเลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการ เช่น MyGame
4. กำหนดชื่อแฟ้ม เช่น อาเซียนพาเพลิน คลิกบันทึก (Save)


Note : ถ้าเป็นการบันทึกซ้ำในชื่อเดิม ให้คลิก 

การเปิดแฟ้มข้อมูล (Open)
1. คลิก  Office เลือก เปิด (Open)
2. คลิกเลือกไดรฟ์ที่จัดเก็บข้อมูลอยู่ เช่น C: D: หรือ E:
3. ดับเบิ้ลคลิกเลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการ เช่นMyGame
4. คลิกเลือกชื่อแฟ้ม เช่น อาเซียนพาเพลิน คลิก  เปิด (Open)


เกมอาเซียนพาเพลิน
รูปหน้าเกมสำหรับผู้เล่นเกม





ขั้นตอนและวิธีสร้างเกม
      1.  สร้างงานใน Book 1 โดยเริ่มที่ Sheet 1

    2.  ผสานเซลล์ A1:N1 ปรับความสูง 184.5 ซม.ความกว้างของคอลัมน์ B:C=9 , D=4 , E:F=9 ให้พอดีบริเวณนี้จะใช้วางชื่อเกม อาเซียนพาเพลิน จัดชื่อเกมให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม

      3.    พิมพ์กติกาการเล่นเกม ผสานเซลล์ A2:N2 พร้อมจัดรูปแบบตัวอักษร ขนาด สี พิมพ์ ให้นักเรียนเลือกคำศัพท์เกี่ยวกับธงชาติในกลุ่มอาเซียนแต่ละประเทศลงในช่องสีฟ้าใต้รูปภาพธงชาติที่กำหนดให้
 ถ้าเลือกคำศัพท์ได้ถูกต้องจะมีคะแนนปรากฏให้ในช่องทางขวามือช่องละ 1 คะแนน

      4.    ปรับความสูง A3:N30 = 24ซม. เพื่อจัดเตรียมพื้นที่สำหรับวางรูปภาพธงชาติ ทั้ง 10 ประเทศ ปรับขนาดรูปภาพให้มีขนาดความสูง 2 ซม. ดังนี้
-          ประเทศฟิลิปปินส์ 
-          ประเทศไทย
-          ประเทศบรูไน
-          ประเทศกัมพูชา
-          ประเทศมาเลเซีย
-          ประเทศอินโดนีเซีย
-          ประเทศเมียนมาร์
-          ประเทศเวียดนาม
-          ประเทศสิงคโปร์
-          ประเทศลาว

     5.   คลิกเมนู แทรก >> รูปภาพ >> จากแฟ้ม...เลือกรูปภาพ จากแฟลชไดร์ จัดวางรูปภาพตามที่กำหนด

     6.   ผสานเซลล์ที่ A6:B6, A7:B7, E6:F6, E7:F7, A11:B11, A12:B12, E11:F11, E12:F12, A16:B16, A17:B17, E16:F16, E17:F17, A21:B21, A22:B22, E21:F21, E22:F22, A26:B26, A27:B27, E26:F26, E27:F27 ใส่เส้นขอบ  ใส่สี  จัดรูปแบบให้สวยงาม

     7.   พิมพ์รายการตัวเลือกของคำตอบ (ในเซลล์ที่ไม่ได้ใช้งาน)  ผสานเซลล์ที่ H4:J4 , H5:J5 , H6:J6 , H7:J7 , H8:J8 , H9:J9 , H10:J10 , H11:J11 , H12:J12 , H13:J13 , H14:J14 ใส่หัวข้อ กลุ่มประเทศอาเซียนและ 10 ประเทศอาเซียนตามลำดับ จัดวางรูปแบบอักษร เป็นตัวหนา ปรับขนาด ใส่สีเซลล์

     8.  การสร้างตัวเลือกสำหรับคำตอบ คลิกที่เซลล์ B6 คลิกเมนู ข้อมูล >> การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล >> เลือกแบบรายการ จะปรากฏหน้าต่าง การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ดังรูป



ในเงื่อนไข อนุญาตให้ : เลือกเป็น รายการ ในเงื่อนไข แหล่งข้อมูล : ให้นำเมาส์ไปลากคลุมพื้นที่ของ รายการที่พิมพ์ไว้ คลิก 
   
    
     9.  คลิกในเซลล์ B6 คัดลอก นำไปวางในตามลำดับ

    10.   เลือกคำตอบชื่อธงชาติ ที่ถูกต้องในเซลล์

    11.   พิมพ์สูตรและฟังก์ชั่น เพื่อให้คะแนนย่อย ดังนี้
เซลล์ B7 พิมพ์ =IF(B6="ประเทศฟิลิปปินส์",1,0)
หมายความว่า ถ้าเซลล์ B7 มีคำว่า ประเทศฟิลิปปินส์ ให้คะแนน 1 แต่ถ้าไม่ใช่ให้ 0
เซลล์ E7 พิมพ์ =IF(E6="ประเทศไทย",1,0)
เซลล์ B12 พิมพ์ =IF(B11="ประเทศบรูไน",1,0)
เซลล์ E12 พิมพ์ =IF(E11="ประเทศกัมพูชา",1,0)
เซลล์ B17 พิมพ์ =IF(B16="ประเทศมาเลเซีย",1,0)
เซลล์ E17 พิมพ์  =IF(E16="ประเทศอินโดนีเซีย",1,0)
เซลล์ B22 พิมพ์ =IF(B21="ประเทศเมียนมาร์",1,0)
เซลล์ E22 พิมพ์ =IF(E21="ประเทศเวียดนาม",1,0)
เซลล์ B27 พิมพ์ =IF(B26="ประเทศสิงคโปร์",1,0)
เซลล์ E27 พิมพ์ =IF(E26="ประเทศลาว",1,0)

    12.    ผสานเซลล์ L4:M4 พิมพ์ คะแนน เป็นพื้นที่สำหรับให้ปรากฏคะแนน
จัดรูปแบบเซลล์ให้อยู่กึ่งกลางเซลล์ ตัวหนา สีเซลล์ เส้นขอบนอก ตีกรอบให้กับเซลล์คะแนน

    13.    แทรกตัวอักษร คะแนนรวม จัดรูปแบบให้อยู่กึ่งกลางเซลล์ ตัวหนา ปรับขนาด ใส่สีเซลล์  

    14.    พิมพ์สูตรและฟังก์ชั่นในการให้คะแนน
เซลล์ L5 =SUM(B7,E7,B12,E12,B17,E17,B22,E22,B27,E27)

    15.    คลิกเมนู แทรก >> รูปภาพ >> เลือก จากแฟ้ม...เลือกรูปภาพตามต้องการ คลิก ตกลง
ปรับขนาด และจัดวางรูปภาพให้อยู่ในตำแหน่งที่กำหนดไว้

    16.    ผสานเซลล์ I16:M20 เป็นพื้นที่สำหรับคำ เสริมกำลังใจดังนี้
=IF(L5>=10,"ยอดเยี่ยมมากเลยค่ะ",IF(L5>=7,"เก่งมากค่ะ",IF(L5>=4,"พอใช้ค่ะ",IF(L5<=0,"พยายามอีกนะค่ะ"))))หมายความว่า ถ้าเซลล์ L5 มีคะแนนเท่ากับ 10 ให้ปรากฏข้อความ ยอดเยี่ยมมากเลยค่ะ
ถ้าเซลล์ L5 มีคะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 7 ให้ปรากฏข้อความ เก่งมากค่ะ
ถ้าเซลล์ L5 มีคะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 4 ให้ปรากฏข้อความ พอใช้ได้ค่ะ
ถ้าเซลล์ L5 มีคะแนนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 0 ให้ปรากฏข้อความ พยายามอีกนะค่ะ จัดรูปแบบ ตัวหนา ใส่สี

    17.    สร้างแผ่นงานสำหรับ เฉลยเกมอาเซียนพาเพลิน
เปลี่ยนชื่อแผ่นงาน Sheet 2 เป็นชื่อ เฉลยเกมอาเซียนพาเพลิน
คลิกขวาที่แผ่นงาน เฉลยเกมอาเซียนพาเพลิน เลือก ย้ายหรือคัดลอก เลือก      สร้างสำเนา คลิก ตกลง
เมื่อปรากฏแผ่นงาน เฉลยเกมอาเซียนพาเพลิน (2) เปลี่ยนชื่อเป็น เกมอาเซียนพาเพลิน ในแผ่นงาน เกมอาเซียนพาเพลิน เปลี่ยนคำว่า เล่นเกมเป็น เฉลย

    18.    บันทึก เกมอาเซียนพาเพลิน
คลิกแผ่นงาน เกมอาเซียนพาเพลิน
คลิกเมนู แฟ้ม >> บันทึกเป็น...>> กำหนดชื่อ เกมอาเซียนพาเพลิน คลิก บันทึก









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น